เชนจ์เกียร์จำเป็นต้องใช้ทุกครั้งที่ต้องการเบรกรถหรือไม่

เชนจ์เกียร์เพื่อให้เกิดเอนจินเบรก ใช้บ่อยๆ ส่งผลเสียหรือไม่

เดี๋ยวนี้รถมอเตอร์ไซค์มีเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยต่างๆ เข้ามาช่วยให้การขับขี่มีความปลอดภัยและให้การขับขี่สนุกมากขึ้นแล้ว แต่ยังไงความปลอดภัยก็ต้องเริ่มที่ตัวผู้ขับขี่เองทุกครั้งจึงจะเกิดความปลอดภัยมากที่สุด โดยเฉพาะเรื่องของทักษะการควบคุมรถ การเข้าใจในตัวรถ และการประเมินสถานการณ์ด้านหน้าได้อย่างชัดเจน สิ่งเหล่านี้คือปัจจัยภายในและภายนอกที่มีผลต่อการขับขี่

เชนจ์เกียร์จำเป็นต้องใช้ทุกครั้งที่ต้องการเบรกรถ

เอนจินเบรก คือ แรงหน่วงของเครื่องยนต์ที่เกิดจากการลดเกียร์ลงจากเกียร์สูง การลดเกียร์จากเกียร์สูงลงมาเรียกว่าการเชนจ์เกียร์ เมื่อถอนเกียร์จากเกียร์สูงเครื่องยนต์จะเกิดอาการตื้อและหน่วง ซึ่งสามารถช่วยลดความเร็วได้ในระดับนึงเพียงเท่านั้น แต่ไม่สามารถหยุดรถได้ทันที

เรื่องของเทคโนโลยีหรือฟังก์ชันนั้นเป็นสิ่งที่สามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจได้ไม่ยาก แต่เรื่องการทำความเข้าใจกับการขับขี่นั้นคือสิ่งแรกที่ควรฝึกให้เกิดความเคยชินมากที่สุด ในเมื่อรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์มีกำลังเครื่องยนต์ที่สูงและมีแรงม้าที่มากกว่ารถมอเตอร์ไซค์ทั่วไป การที่จะหยุดรถได้อย่างปลอดภัยจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุด นอกจากเป็นความปลอดภัยของตัวเองแล้วยังเป็นความปลอดภัยของผู้ร่วมใช้ถนน

 อย่างที่หลายคนทราบกันดีอยู่แล้วว่าการเบรกในรถจักรยานยนต์มี 4 วิธีหลักๆ ก็คือ เบรกหน้า เบรกหลัง การเชนจ์เกียร์ที่เรารู้จักและฟูลเบรก เหตุผลที่ต้องรู้เรื่องของการเบรกทั้ง 4 แบบนั้นก็เพื่อให้รถสามารถหยุดได้ในระยะสั้นที่สุด และปลอดภัยที่สุด

เอนจินเบรกควรใช้ตอนไหน

คราวนี้ลองมาคุยกันเรื่องของการเบรกแบบเอนจินเบรกหรือการเชนจ์เกียร์กันสักหน่อยดีกว่าครับ การเบรกแบบนี้ควรจะใช้ตอนไหนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากที่สุด หรือเมื่อใช้เอนจินเบรกแล้วจะส่งผลต่อเครื่องยนต์อย่างไรบ้าง ถึงแม้เอนจินเบรกจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยชะลอรถ แต่ก็ไม่ควรจะใช้ทุกครั้งที่ต้องเบรกรถ

CTA-สอบถามโปรโมชั่น

ซึ่งเหตุผลก็เพราะว่าการใช้เอนจินเบรกนั้นเป็นการลดเกียร์จากเกียร์สูงมาที่เกียร์ต่ำ โดยที่รอบเครื่องยนต์ยังสูงอยู่  ยกตัวอย่างเช่น รถใช้ความเร็วอยู่เกียร์ 6 แต่ต้องลดความเร็วมาตามลำดับด้วยการลดเกียร์มาที่เกียร์ 5 เกียร์ 4 และเกียร์ 3 ฟังดูเหมือนง่ายใช่ไหมครับ เดี๋ยวหัวข้อต่อไปเราจะมาอ่านผลที่เกิดขึ้นกันบ้างเมื่อความเร็วและรอบเครื่อง ไม่สัมพันธ์กันจะเกิดอะไรขึ้น ?

ความเร็วและรอบเครื่องยนต์ที่ไม่สัมพันธ์กันส่งผลอย่างไร

การจะลดเกียร์ลงมาที่เกียร์ไหนก็ตาม สิ่งแรกเลยที่มีผลคือเครื่องยนต์ เมื่อเครื่องยนต์ไม่ได้ถูกตัดทอนกำลังลงมาจากรอบทำงานอยู่ โดยจะต้องลดความเร็วลงมาแบบฝืนธรรมชาติ พูดกันให้เข้าใจง่ายๆ คือความเร็วที่ไม่สัมพันธ์กันระหว่างเกียร์และกำลังเครื่องยนต์ ดังนั้นฟันเฟืองของเกียร์ก็จะถูกกระทำอย่างหนักในขณะที่รอบเครื่องยนต์ยังสูงอยู่ โอกาสที่ฟันเฟืองเกียร์จะเกิดความเสียหายย่อมมีแน่นอนครับ เช่นเดียวกับห้องเผาไหม้ทั้งลูกสูบและเสื้อสูบก็จะเกิดการสึกหรอมากขึ้นตามไปด้วย ไม่ใช่เพียงแค่การสึกหรอภายในห้องเครื่องเท่านั้นที่เกิดจากการใช้การเชนจ์เกียร์

ความเร็วที่ไม่สัมพันธ์กับรอบเครื่องยนต์ จากการเชนจ์เกียร์

อีกส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนมากก็คือ โซ่และสเตอร์ เพราะเมื่อมีการเชนจ์เกียร์แล้ว สเตอร์หน้าจะทำการลดความเร็วลงตามเครื่องยนต์ ซึ่งจะส่งผลต่อฟันของสเตอร์และตัวโซ่ทันที เมื่อฟันของสเตอร์ดึงโซ่ให้ช้าลงบวกกับความร้อนของโซ่ ฟันของสเตอร์จะมีการสึกหรอตามการใช้งาน เช่นเดียวกับโซ่ที่จะค่อยๆ ยืดให้ยาวขึ้นเรื่อยๆ จากการกระชากของเครื่องยนต์ แน่นอนครับว่าจะไปลดอายุการใช้งานของสเตอร์และโซ่ให้สั้นลงกว่าที่จะเป็น ซึ่งนี่ก็เป็นอีกหนึ่งคำตอบของการใช้งานของตัวโซ่และสเตอร์ ว่าจริงๆ แล้วอายุการใช้งานของโซ่และสเตอร์นั้นก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของการใช้งานของแต่ละคน

อยากรวบเกียร์แบบนักแข่งจะมีผลเสียหรือไม่

นอกจากการใช้เอนจิ้นเบรกอย่างพร่ำเพรื่อจะส่งผลต่อการสึกหรอของเครื่องยนต์และโซ่แล้ว อีกการใช้งานที่เจอบ่อยๆ คือการรวบเกียร์ที่จะยิ่งมีผลต่อเครื่องยนต์ เกียร์และโซ่โดยตรง ถึงขั้นอันตรายต่อชีวิตได้เลย โดยเฉพาะท่านที่ไม่ค่อยได้ดูแลโซ่ปล่อยให้ขึ้นสนิมเมื่อรวบเกียร์อาจจะถึงขั้นโซ่ขาดแล้วไปฟาดกับตัวเครื่องยนต์ทำให้เกิดความเสียหายได้ครับ

การรวบเกียร์เป็นเทคนิคของนักแข่ง เป็นภาษาที่ใช้เรียกกัน การรวบเกียร์ คือ การลดเกียร์ลงมาอย่างรวดเร็ว แบบไม่สนใจรอบเครื่องยนต์ อย่างเช่นวิ่งอยู่เกียร์ 6 แล้วลดเกียร์ลงมาที่เกียร์ 2 ในทีเดียว  เทคนิคนี้ต้องได้รับการฝึกฝนและผู้ขับขี่ต้องมีทักษะที่ดีทีเดียว เพราะการรวบเกียร์แบบนี้จะเกิดแรงฉุดอย่างรุนแรง โช้คหน้าและแขนทั้ง 2 ข้างจะต้องรับน้ำหนักและแรง G ทั้งหมด โอกาสที่ผู้ขับขี่จะเสียหลักล้มนั้นมีสูงมาก

สลิปเปอร์คลัทช์ลดเอนจิ้นเบรก

อีกหนึ่งอาการของรถเมื่อมีการเชนจ์เกียร์นั่นก็คืออาการสับของล้อหลัง ถ้าหากเป็นรถที่ไม่มีสลิปเปอร์คลัทช์จะสามารถสังเกตอาการล้อหลังสับได้ทันที แต่ถ้าเป็นรถที่มีเทคโนโลยีสลิปเปอร์คลัทช์แล้ว เมื่อเชนจ์เกียร์ลงมาอาการล้อหลังสับแทบจะไม่มีเลยหรือถ้ามีก็มีน้อยมาก เป็นผลกระทบที่เกิดจากการใช้เอนจินเบรกหรือว่าเชนจ์เกียร์ ซึ่งส่วนใหญ่บิ๊กไบค์ของคาวาซากิ เช่น Ninja400 Z400 Z900 หรือจะเป็นรุ่นใหญ่ๆ Z-10R ต่างก็ใส่เทคโนโลยีสลิปเปอร์คลัทช์เข้ามาช่วยในการขับขี่ นอกจากจะช่วยลดอาการล้อหลังล็อคเนื่องจากลดเกียร์แล้ว ยังช่วยลดแรงในการบีบคลัทช์ทำให้ใช้แรงน้อยลงกว่าเดิม

ใช้การเชนจ์เกียร์แค่บางครั้ง

ดังนั้นทางที่ดีก็เลือกใช้แค่บางเหตุการณ์จึงน่าจะเหมาะสมที่สุด แต่ก็ควรจะมีการฝึกฝนอยู่เรื่อยๆ เพื่อให้เกิดความเคยชิน และไม่ตกใจกับอาการของรถเมื่อใช้เอนจินเบรก การใช้เอนจินเบรกก็ควรจะเป็นจังหวะที่ฉุกเฉินจะดีที่สุด ง่ายๆ เลยจังหวะไหนที่รู้สึกไม่มั่นใจก็คงต้องเอาเอนจินเบรกเข้ามาช่วยชะลอความเร็วด้วย แต่ก็เชื่อว่าคงจะไม่มั่นใจทุกครั้งใช่ไหมครับ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์และโซ่สเตอร์ตามไปด้วยนั่นเอง และท้ายที่สุดหลังจากการใช้งานแล้วอย่าลืมดูแลสุขภาพของบิ๊กไบค์ เช็คระยะตามรอบให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอนะครับ

พูดคุยกับเราหรือปรึกษาก่อนซื้อ

inbox

LINE

Share this post :

คุยกับเราผ่านทาง SOCIAL MEDIA

Follow Us​