จริงหรือไม่เวลาล้มต้องให้เก็บคอ งอเข่า ?
[vc_row][vc_column][vc_column_text] เก็บคองอเข่า ลดอันตรายจากอุบัติเหตุ [/vc_column_text][vc_column_text]ในบางครั้งไม่ว่าจะมีความเชี่ยวชาญหรือความชำนาญมากขนาดไหนก็ยังมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้เหมือนกัน เช่นเดียวกับการขี่รถมอเตอร์ไซค์ ถึงแม้บางท่านจะมีประสบการณ์ในการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์มาอย่างโชกโชน หรือเรียกง่ายๆ คือสะสมไมล์มาหลายพันกิโลเมตร แต่ในบางเหตุการณ์เองก็ยากที่จะควบคุมได้ จึงทำให้เห็นการเกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้ง ส่วนความเสียหายนั้นจะมากหรือว่าน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับการใช้ความเร็วเป็นหลัก ยิ่งใช้ความเร็วมากเมื่อเกิดอุบัติเหตุก็จะยิ่งเกิดความเสียหายมากเท่านั้น[/vc_column_text][vc_column_text][toc][/vc_column_text][vc_column_text]ในความเสียหายนั้นถ้าเสียหายแค่รถก็ไม่เท่าไหร่ใช่ไหมล่ะครับ อย่างมากหาอะไหล่มาใส่ทดแทนของเดิมได้ แต่ถ้าหากเป็นร่างกายแล้วหากเกิดการสูญเสียก็ยากที่จะหาอะไรมาทดแทนได้ ดังนั้นทางที่ดีที่สุดก็คือการป้องกันเอาไว้ก่อนจะน่าจะเป็นการแก้ไขที่ดีที่สุด[/vc_column_text][vc_column_text] เก็บคอ งอเข่า เจ็บน้อยสุด ในลักษณะการล้มหลายคนคงเคยได้ยินกันมาบ่อยมากกับคำว่า “ให้เก็บคอ งอเข่า” แล้วจะเจ็บน้อยที่สุดหรือปลอดภัยมากที่สุด ซึ่งเป็นคำที่มีการถ่ายทอดกันมาอยู่เรื่อยๆ ส่วนจะทำได้จริงอย่างนั้นหรือไม่นั้น เชื่อว่าน่าจะเป็นคำถามที่ยังไม่ค่อยมีใครออกมาตอบได้ชัดเจนสักเท่าไหร่ คราวนี้ลองมาดูกันว่าจะสามารถทำได้จริงอย่างคำที่ว่ากันหรือเปล่า[/vc_column_text][vc_column_text]จากคำที่ได้ยินมาบ่อยๆ นั้น เชื่อหรือไม่ครับว่าคนที่พูดนั้นแทบจะไม่เคยขี่รถล้มมาก่อนหรือเคยเกิดอุบัติเหตุเลย ไม่ใช่เพราะว่าเป็นคนไม่ขี่รถนะครับ แต่กลับกันเขาผู้นั้นอาจจะมีการขับขี่รถด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษนั่นเอง ดังนั้นจะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุน้อยมาก[/vc_column_text][vc_single_image image=”19331″ img_size=”full”][vc_column_text]สำหรับคนที่เคยเกิดอุบัติเหตุนั้น บางคนก็อาจจะบอกว่า “เก็บคอ งอเข่าไม่ทัน” แล้วก็ล้มไปแบบไม่ทันตั้งตัว ซึ่งในหลักของความเป็นจริงแล้ว เมื่อเกิดอุบัติเหตุ รถจักรยานยนต์ที่เราขี่มานั้นจะมีแรงเหวี่ยงที่มาพร้อมกับรถอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อรถล้มขึ้นมาทั้งรถและคนจะเกิดการกระแทก ในขณะเดียวกันร่างกายของเรายังมีแรงเหวี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนตัวของรถอยู่[/vc_column_text][vc_column_text]ไม่ว่าจะเป็นรถหรือว่าร่างกายของเรา เมื่อรถเกิดการอุบัติเหตุล้มลง รถและร่างกายก็จะยังไถลหรือกลิ้งไปจนกว่าแรงเฉื่อยนั้นจะหมดไปเอง ถ้าหากเป็นตัวรถที่ล้มก็จะไถลไปตามแรงเหวี่ยงจนหยุดไปเอง จะไถลหรือหยุดในสภาพไหนนั้น ไม่อาจคาดเดาได้เลย[/vc_column_text][vc_column_text] เมื่อเกิดอุบัติเหตุเราคงไม่สามารถควบคุมทิศทางการล้มได้ แน่นอนอยู่แล้วว่ารถไม่สามารถควบคุมทิศทางในการล้มได้เลย แล้วถ้าหากเป็นคนที่มีแรงเหวี่ยงมาจากรถที่เกิดอุบัติเหตุ จะสามารถควบคุมร่างกายได้หรือเปล่านั้น ก็ต้องบอกว่าถ้าเอาจริงๆ แล้ว เมื่อเกิดรถล้มลงไปแล้ว เชื่อว่าไม่มีใครที่สามารถควบคุมร่างกายได้เลย […]
จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเอาเท้าไว้ใต้คันเกียร์ตลอดเวลา

สวัสดีครับวันนี้ Kawasaki Real MotoSports นำสาระความรู้ดีๆ มาเสิร์ฟให้กับทุกท่านถึงทีกันอีกแล้ว คราวนี้เราจะพูดถึงความเคยชินของเราครับ เพื่อนๆ เคยชินกับอะไรบ้างครับ..หนึ่งสิ่งที่หลายคนเคยชินคือการขับขี่มอเตอร์ไซค์ หลายๆท่ านเริ่มขับขี่ก็จะมีคนรอบข้างสอนขี่ซึ่งเป็นสิ่งทีดีนะครับส่วนมากเราจะถูกสอนแค่ให้ขี่ได้ปล่อยคลัทช์ได้ ออกตัว ทรงตัวได้ เมื่อเราเริ่มขี่ได้แล้วเรามักจะมีพฤติกรรมบางอย่างที่มักจะทำจนเกิดความเคยชิน ซึ่งอาจจะส่งผลถึงความปลอดภัยของตัวเราเองด้วย เราไปอ่านกันเลยดีกว่าครับ ว่าสิ่งที่ผมพูดถึงนั้นคืออะไร คราวนี้ลองมาดูกันสักนิดหรือเอาไว้พอเป็นข้อมูลให้กับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์กันสักหน่อย โดยเฉพาะสิ่งที่พบเห็นกันอยู่บ่อยๆ นั้นก็คือเรื่องของการวางเท้าบนแป้นพักเท้า เชื่อได้ว่าหลายคนอาจจะเคยขี่รถตามความเคยชิน ปลายเท้าแบออกบ้างหรือเอาเท้าสอดไว้ใต้คันเกียร์บ้าง สิ่งเหล่านี้คือเกิดจากความเคยชินที่ขี่รถกันอยู่ทุกวัน คราวนี้ลองมาดูว่าความเคยชินเหล่านี้จะส่งผลอะไรบ้างต่อการขับรถ โดยปกติแล้วถ้าขี่รถในแบบที่ถูกต้องคือการวางเท้าไว้ที่พักเท้าแล้วปลายเท้าจะวางที่แป้นคันเกียร์หรือแป้นเบรก เพื่อให้ปลายเท้าได้คอยควบคุมจังหวะการเปลี่ยนเกียร์ตามรอบเครื่องยนต์ รวมถึงการใช้งัดเกียร์เมื่อต้องการเชนจ์เกียร์เท่านั้น แต่เมื่อขี่รถในระยะทางไกลๆ หรือขี่รถเป็นเวลานานๆ แล้ว บางครั้งอาจจะเกิดความพลั้งเผลอรวมถึงความเคยชิน การวางเท้าเอาไว้ใต้คันเกียร์หรือแป้นเบรกก็แล้วแต่ จริงๆ เป็นสิ่งที่อันตรายในการขับขี่รถจักรยานยนต์มากทีเดียว เพราะการวางเท้าบนแป้นเกียร์จะมีอิสระมากกว่า เพียงแค่จะต้องงอข้อเท้าเป็นเวลานานหากขับขี่ในระยะทางไกล โดยเฉพาะรถสปอร์ตที่อาจจะต้องมีการงอข้อเท้ามากกว่าปกติ บางครั้งอาจจะเกิดการเมื่อยล้า แต่เมื่อใดที่เอาเท้าสอดไว้ใต้คันเกียร์แล้ว เท้าจะถูกล็อคเอาไว้แบบนั้นทันที เมื่อจะต้องเปลี่ยนเกียร์ในแต่ละครั้งก็จะต้องดึงเท้าออกมาจากใต้แป้นเกียร์เพื่อยกปลายเท้าขึ้นมาเปลี่ยนเกียร์ อาจจะทำให้เสียจังหวะในการเปลี่ยนเกียร์ได้หรืออาจจะเปลี่ยนเกียร์ไม่ได้ตามรอบเครื่องยนต์ รวมไปถึงบางครั้งที่ปลายเท้าสอดคาใต้คันเกียร์ไว้แบบนั้นอาจจะทำให้ปลายเท้าไปเตะคันเกียร์เองโดยอัตโนมัติ จนทำให้รถเกิดอาการเสียการทรงตัว นับว่าเป็นอันตรายมากทีเดียว และถ้าหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา ปลายเท้าที่เข้าไปสอดใต้คันเกียร์อยู่นั้นจะถูกล็อคเอาไว้แบบนั้น หากตัวผู้ขับขี่หลุดออกจากตัวรถได้ก็ถือว่าโชคดีไป แต่ถ้าหากโชคร้ายปลายที่ถูกล็อคเอาไว้ก็จะลากตัวผู้ขับขี่ติดไปกับรถด้วย ในอีกกรณีหนึ่งหากเกิดเหตุที่ไม่คาดฝันเมื่อเกิดการกระแทกและรถล้มตัวก็จะติดไปกับรถเช่นเดียวกัน และถ้าหากร้ายแรงข้อเท้าจะหักทันที หรืออาจจะถึงขั้นเท้าเปิดเห็นกระดูกเลยก้ได้ และอีกกรณีหนึ่งที่หลายคนอาจจะไม่ได้นึกถึงนั้นก็คือหากรถเกิดตกหลุมเท้าที่วางแบบไม่มั่นคง ในจังหวะนั้นอาจจะทำให้เท้าหลุดจากพักเท้าได้ง่ายเช่นเดียวกัน อาจจะทำให้ผู้ขับขี่ตกรถได้เหมือนกัน นี่เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของเกตุการณ์ต่างๆ เมื่อเอาปลายเท้าไปสอดไว้ใต้คันเกียร์ จะเห็นได้ว่าจากเพียงแค่การใช้ความเคยชินในบางครั้งอาจจะส่งผลถึงขั้นข้อเท้าหักหรืออาจจะมากกว่านั้นได้ จากจุดเล็กๆ […]
แก้ปัญหา ขี่มอเตอร์ไซค์แล้วต้องเจอรถบรรทุก
[vc_row][vc_column][vc_column_text] แก้ปัญหา ขี่มอเตอร์ไซค์แล้วต้องเจอรถบรรทุก [/vc_column_text][vc_separator color=”black”][vc_column_text] รถบรรทุกกับมอเตอร์ไซค์เป็นสองสิ่งที่เรามักจะคุ้นชินและได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ผมเป็นคนนึงที่ชื่นชอบการเปิดข่าวฟังในตอนเช้าถึงแม้จะอาบน้ำอยู่ก็ตามแต่อย่างน้อยขอให้ได้เปิดและได้ยิน สิ่งหนึ่งที่ผมมักจะเจออยู่บ่อยๆ คือข่าวอุบัติเหตุระหว่างมอเตอร์ไซค์และรถบรรทุก ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ ราวกับเป็นส่วนหนึ่งในสังคมไทยไปแล้ว แต่เดี๋ยวก่อนครับ เราอย่าชินและเพิกเฉยกับอันตรายเหล่านี้ ถึงแม้ว่าวันนี้เราจะยังไม่เจอ แต่ก็ใช่ว่าเราจะไม่เจอเลย ระหว่างขี่มอเตอร์ไซค์คู่ใจคันเขียว ผมได้ตกผลึกความคิดอยากจะนำเรื่องความปลอดภัยและการปฏิบัติตัวเมื่อเราเจอกับพี่เบิ้มบนท้องถนน !! ผมหมายถึงรถบรรทุกนะครับ พวกเรา Kawasaki Real MotoSports จึงรวบรมข้อมูลและจัดทำเป็นบทความนี้ขึ้นมาครับ “แก้ปัญหา ขี่มอเตอร์ไซค์แล้วต้องเจอรถบรรทุก” [/vc_column_text][vc_column_text] เรื่องอุบัติเหตุบนท้องถนนที่เราใช้งานกันอยู่มักจะเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเกิดกับตัวเราเองหรือคนรอบข้าง อุบัติเหตุบนท้องถนนนั้นเกิดได้จาก 4 สาเหตุหลักๆ คือมากจากคน อันดับต่อมาเป็นรถ ต่อมาคือมาจากสภาพแวดล้อม และอันดับสุดท้ายมาจากสภาพอากาศ นี่เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ… [/vc_column_text][vc_column_text]ต้องยอมรับว่าอัตราการเกิดอุบัติเหตุของเมืองไทยนั้นติดอันดับต้นๆ ของโลก และยานพาหนะหลักที่ติดอันดับหนึ่งคือ รถมอเตอร์ไซค์โดยมีอัตราส่วนการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุดเมื่อเทียบกับรถประเภทอื่นๆ ปัจจัยหลักมาจากการขับขี่ที่ประมาท ทำให้รถมอเตอร์ไซค์กลายเป็นเป้าหมายหลักที่หลายภาคส่วนพยายามที่จะลดการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ถึงแม้ในด้านของบริษัทผู้ผลิตรถจักรยานยนต์เองก็ได้พยายามเพิ่มเติมในเรื่องของทักษะการขับขี่ให้กับผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์มาอย่างต่อเนื่องก็ตาม ซึ่งผมว่าเป็นเรื่องที่ดีที่หลายๆ ที่ให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยของผู้ใช้งานอย่างเราใช่ไหมล่ะครับ[/vc_column_text][vc_column_text]แต่นั้นก็เป็นเพียงส่วนหนึ่ง เพราะการเกิดอุบัติเหตุก็ยังประกอบด้วยอีกหลายๆ สาเหตุ และสิ่งที่กำลังจะพูดถึงอยู่นี้ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุระหว่างรถมอเตอร์ไซค์และรถบรรทุก ต้องบอกว่ารถทั้ง 2 ประเภทนี้มีขนาดที่แตกต่างกันมากและมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้ง[/vc_column_text][vc_single_image image=”17974″ img_size=”full” alignment=”center”][vc_column_text] […]
บิ๊กไบค์อันตรายกว่าจริงหรือ? เปิดสถิติอุบัติเหตุที่คุณไม่รู้มาก่อน
[vc_row][vc_column][vc_column_text]บิ๊กไบค์อันตรายกว่าจริงหรือ……เป็นคำถามที่หลายๆ คนน่าจะสงสัยกันอยู่นานพอสมควรใช่ไหมครับ ซึ่งเรื่องนี้ก็ถกเถียงกันมานานแล้ว บางท่านบอกว่าต้องเป็นบิ๊กไค์อยู่แล้วเพราะซีซีสูงขี่ืแล้วอันตราย บางท่านบอกไม่เสมอไป แน่นอนครับว่าเราอาจจะต้องเอาสถิติหรือข้อมูลมาอ้างอิงเพื่อให้เห็นภาพกันดีกว่าว่าจริงๆ แล้ว บิ๊กไบค์อันตรายจริงหรือไม่[/vc_column_text][vc_column_text] 1) มือใหม่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุมากที่สุด? เรามักจะคิดกันว่า อุบัติเหตุมักจะเกิดกับมือใหม่ที่เริ่มขับขี่สองล้อมากที่สุด แต่จากข้อมูลสถิติจากอเมริกา[1]กลับพบว่า กลุ่มเสี่ยงที่สุดคือผู้ขับขี่จักรยานยนต์ที่เข้าสู่ปีที่ 2-3 ภาษาบ้านๆ คือ เข้าสู่ช่วงย่ามใจ คิดว่าขี่คล่องแล้วจนเริ่มประมาท เกิดอุบัติเหตุได้สูงกว่ากลุ่มมือใหม่ที่เริ่มขับขี่ได้ 0-6 เดือนเสียอีก ซึ่งแม้จะขี่ไม่คล่องแต่ก็ระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะยังคิดว่าตัวเองขี่ไม่เก่ง ดังนั้นทุกท่านที่ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ หรือมีคนใกล้ชิด ก็ขอให้ระมัดระวังปีที่ 2-3 ให้ดี เป็นช่วงปีชงของไบค์เกอร์เลยทีเดียว ถ้าเริ่มห้าว เริ่มแต่งตัวไม่รัดกุม ไม่สวมหมวกกันน็อก นั่นคือสัญญาณอันตรายที่ต้องคอยตักเตือนกันไว้ [1] ข้อมูลจาก The Hurt Report, จากหนังสือ Proficient Motorcycling หน้า 21[/vc_column_text][vc_single_image image=”14239″ img_size=”full”][vc_column_text] 2) บิ๊กไบค์อันตรายกว่ารถเล็ก ? จากสถิติล่าสุดจากศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน (ThaiRSC)[2] ในทุกๆ วันจะมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย เฉลี่ยแล้วกว่า 40 […]