[vc_row][vc_column][vc_column_text]
ศึกสังเวียนเดือด Kawasaki ZX-6R กับ Ninja 650
[/vc_column_text][vc_column_text]
[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column width=”5/6″][vc_row_inner][vc_column_inner width=”1/2″][vc_single_image image=”13939″ img_size=”full”][/vc_column_inner][vc_column_inner width=”1/2″][vc_single_image image=”8424″ img_size=”full”][/vc_column_inner][/vc_row_inner][vc_column_text]กลับมากันอีกครั้งผมคนเดิมเพิ่มเติมวันนี้เราจะมาพูดถึงข้อแตกต่างระหว่าง Kawasaki ZX-6R กับ Kawasaki Ninja 650 กัน ช่วงนี้มีข่าวในต่างประเทศได้มีการเปิดตัว Kawasaki Ninja 650 2020 ในขณะเดียวกันก่อนหน้าทาง Kawasaki Motor ประเทศไทยก็เผยโฉมสีใหม่ของ ZX-6R ออกมา คราวนี้มาโทนสีดำเรียกความดุดันออกมาอีกครั้ง แต่ถ้าจะซื้อทั้งทีซื้อแบบไหนคุ้มกว่ากัน เราลองมาหาข้อได้เปรียบกับเสียเปรียบของทั้ง 2 รุ่นนี้กันดีกว่าครับ[/vc_column_text][vc_column_text]
เครื่องยนต์ที่แตกต่างอย่างชัดเจน
ถ้ามองอย่างแรกๆ ในการตัดสินใจซื้อหลายๆ คนน่าจะมองเรื่องเครื่องยนต์กันใช่ไหมครับ เราลองมาดูความแตกต่างของเครื่องยนต์ 2 รุ่นนี้กันดีกว่า ขอเริ่มที่ Ninja650 แล้วตามด้วย ZX-6R กัน
เครื่องยนต์ Ninja650
เครื่องยนต์ยังคงเป็นเครื่องเดิม 649cc เหมือนที่ผ่านมา ผ่านมาตราฐาน Euro4 เป็นแบบ 2 สูบ 8 วาล์ว ขนาดกระบอกสูบ/ช่วงชัก 83.0 x 60.0 mm อัตราส่วนกำลังอัด 10.8:1 ระบบเกียร์ยังคงเป็น 6 สปีด และยังคงเป็นระบบครัทช์แบบ slipper clutch ซึ่งช่วยทำให้การกระชากของเครื่องยนต์ในเวลาลดเกียร์หรือเบาคันเร่งขณะขี่น้อยลง ข้อดีก็คือเมื่อขี่ช่วงฝนตกรถจะไม่มีอาการส่ายเวลาลดเกียร์ แต่ก็อย่างที่เราใช้กันอยู่เรามักจะเจอปัญหาเวลาขี่เข้าไปในเมืองอาจจะมีอาการเมื่อยแขนกว่า Ninja400 แต่..!! ในรุ่นใหม่ปี 2020 กลับทำออกมาได้ดีกว่าเดิมโดยใช้แรงบีบครัทช์น้อยลง ความเมื่อยล้าในการบีบครัทช์ก็ลดลงเช่นกัน ซึ่งถือว่าเป็นผลดีต่อคนขี่อย่างมาก
เครื่องยนต์ ZX-6R
เครื่องยนต์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ด้วยเครื่องยนต์ขนาด 636cc 4สูบเรียง ระบายความร้อนด้วยน้ำ เครื่องยนต์ผ่านมาตราฐาน Euro4 ปริมาณกระบอกสูบXช่วงชัก 67.0X45.1 มม ระบบเกียร์แบบ 6 สปีด และยังมีระบบควิกชิพเตอร์ (ขึ้นได้อย่างเดียว) อัตราส่วนกำลังอัด 12.9:1 ระบบจ่ายเชื่อเพลิงเป็นแบบ หัวฉีด 33X4 นอกจากความพิเศษของเครื่องยนต์แล้วอีกหนึ่งความพิเศษคือแรมแอร์ที่เพิ่มขึ้นมา แรงม้าสูงสุดอยู่ที่ 130แรงม้า ที่ 13,500 รอบ/นาที แรงม้าสูงสุดที่แรมแอร์เปิดเพิ่มขึ้นมาอีก 6 ตัว ที่ 13,500 /นาที[/vc_column_text][vc_row_inner][vc_column_inner width=”1/2″][vc_single_image image=”14049″ img_size=”full”][/vc_column_inner][vc_column_inner width=”1/2″][vc_single_image image=”14048″ img_size=”full”][/vc_column_inner][/vc_row_inner][vc_column_text css=”.vc_custom_1571724286998{margin-top: 30px !important;}”]
ระบบกันสะเทือน
ถ้าพูดถึงระบบกันสะเทือนคิดถึงอะไรกันครับ 1….2….3…. เอาเป็นว่าก็คงคิดออกนานแล้วแหละ (ฮ่าๆ) ใช่ครับคงหนีไม่พ้นโช๊คแน่นอน ระบบโช๊คมีความสำคัญอย่างมากเพราะเป็นสิ่งที่ช่วยรับแรงต่างๆ ที่ถูกกระทำไม่ว่าจะเป็น ตกหลุม การเบรก รับน้ำหนักคนขี่ รับน้ำหนักคนซ้อน รับแรงกระทำของเครื่องยนต์เมื่อเปิดคันเร่ง รับแรงเมื่อเลี้ยว โอ้ย !! สาระพัด แล้วรู้หรือไม่ว่าโช๊คหน้ามีหลายแบบ เดี๋ยวจะมาเขียนให้อ่านกันในบทความต่อไป แต่วันนี้จะขอพูดแค่ 2 อย่าง คือ โช๊คอัพ Telescopic และโช๊คอัพแบบ Upside Down
โช๊คอัพหน้าของ Ninja 650
ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายๆ จุด แต่เรื่องของโช๊คอัพยังคงใช้รูปแบบเดิมคือ Telescopic ลักษณะของโช๊คแบบนี้คือกระบอกไฮโดรลิคจะอยู่ด้านล่างตรงล้อ ซึ่งกระบอกไฮโดรลิคจะทำหน้าที่บรรจุของเหลวเอาไว้ และแกนโช๊คจะยึดติดอยู่กับแผงคอหน้า เวลาขี่ไปเจอหลุมหรืออะไรก็แล้วแต่ตัวรถจะยุบตัวลงมาเข้าหาช่วงล่างแทน ข้อดีของโช๊ครูปแบบนี้คือ ราคาถูกกว่าโช๊คหัวกลับ รวมไปถึงการดูแลรักษาก็ง่ายกว่า แถมแกนโช๊คมีโอกาสเป็นรอยน้อยมากกว่าโช๊คหัวกลับ
โช๊คอัพหน้า ZX-6R
โช๊คของ ZX-6R มีความแตกต่างจากโช๊คธรรมดาตรงที่ เป็นโช๊คหัวกลับซึ่งประสิทธิภาพจากแตกต่างจากโช๊คธรรมดาอย่างมาก แต่ส่วนมากโช๊คแบบนี้จะนิยมใช้กับรถแนว Dual Purpose ลักษณะของโช๊คหัวกลับคือกระบอกไฮโดรลิคจะถูกยึดติดอยู่บนแผงคอหน้าส่วนที่เป็นแกนโช็คจะยึดติดอยู่กับล้อหน้า เมื่อเราขับบนทางที่ขรุขระหรือตกหลุม แกนโช๊คหน้าจะเป็นตัวเคลื่อนไหวเองรถไม่ไม่ยุบตัวลง ทำให้ตัวรถมีความนิ่งกว่าโช๊คอัพแบบธรรมดามากกว่า ส่วนสิ่งที่ตามมาคือราคาที่แพงกว่าปกติ และโอกาสที่แกนโช๊คจะเป็นลอยมีมากกว่า รถที่ใส่โช๊คแบบนี้จะต้องมาการ์ดโช๊คป้องกันเอาไว้ด้วย เกือบลืมไปเลยครับ โช๊คหน้าของ ZX-6R เป็นของ Showa สามารถปรับตั้งโช๊คได้เลย เหมาะสำหรับใครที่ต้องการปรับตั้ง Peload ของโช๊คเอง[/vc_column_text][vc_row_inner][vc_column_inner width=”1/2″][vc_single_image image=”14051″ img_size=”full”][/vc_column_inner][vc_column_inner width=”1/2″][vc_single_image image=”14052″ img_size=”full”][/vc_column_inner][/vc_row_inner][vc_single_image image=”13882″ img_size=”full” alignment=”center” onclick=”custom_link” link=”https://realmotosports.com/promotions/#modal-promo-sport” css=”.vc_custom_1571640295067{margin-top: 30px !important;}”][vc_column_text css=”.vc_custom_1571724299034{margin-top: 30px !important;}”]
เทคโนโลยีที่แตกต่าง
อีกหนึ่งสิ่งที่แตกต่างกันแบบเห็นได้อย่างชัดเจนคือระบบเทคโนโลยีต่างๆ ที่เพิ่มเติมขึ้นมาในตัว Ninja 650 ปี 2020 และสิ่งที่มีอยู่ในตัว ZX-6R แต่ก่อนจะไปเริ่มผมให้เวลาพักหายใจก่อนครับ 1….2….3….4…. พร้อมแล้วนะครับ งั้นเราไปดูเรื่องของเทคโนโลยีกันเลย
เทคโนโลยี Ninja 650
สิ่งที่เปลี่ยนไปในรุ่นของปี 2020 ที่ Kawasaki USA ได้เปิดตัวไปคือ หน้าจอเป็น TFT เรียกง่ายๆ ก็คือเกือบยกหน้าจอ Versys1000 SE 2019 มาใส่ ซึ่งเหมาะสำหรับรถแนว Sport Tpuring อย่าง Ninja650 พร้อมการเชื่อมต่อผ่าน SmartPhone สามารถดูรายละเอียดต่างๆ ของรถได้ แต่จะไม่สามารถใช้งานขณะที่รถกำลังเคลื่อนที่อยู่ได้
เทคโนโลยี ZX-6R
เทคโนโลยีของ zx-6r ยังถือว่าล้ำกว่าตัว Ninja 650 ปี 2020 ถึงแม้ว่าอาจจะไม่ใช่หน้าจอ TFT แต่มีระบบ traction control หน้าจอกึ่งดิจิตอล เพราะยังคงความเป็น Super Sport อยู่ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการต่างๆ การตั้งค่าจะค่อนข้างละเอียดกว่าเพราะจะมีทั้งหมด 3 ระดับ แต่ละระดับจะมีประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน ส่วนโหมดในการขับขี่จะมีตัวย่อเป็น F กับ L ซึ่ง F คือ Full power เรียกง่ายๆ คือปล่อยของออกมาเต็มที่ ส่วนโหมด L คือ Low power เป็นโหมดที่แรงบิดถูกลดลงเกือบ 60 % เหมาะสำหรับช่วงเวลาฝนตกถนนเปียกอย่างมาก นอกจากนั้นยังมีระบบ KQS หรือควิกชิปเตอร์สามารถงัดเกียร์ขึ้นได้ (งัดขึ้นได้อย่างเดียว) เมื่อรอบขึ้น 2,500 รอบ แบบไม่ต้องกำครัทช์ เรียกว่าการช่วยเพิ่มความสนุกในการขี่ได้มากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะเวลาแข่งขัน ZX-6R เดิมๆ ก็ยังสู้ได้[/vc_column_text][vc_row_inner][vc_column_inner width=”1/2″][vc_single_image image=”13949″ img_size=”full”][/vc_column_inner][vc_column_inner width=”1/2″][vc_single_image image=”13950″ img_size=”full”][/vc_column_inner][/vc_row_inner][vc_row_inner css=”.vc_custom_1571627543155{margin-top: 30px !important;}”][vc_column_inner width=”1/2″][vc_single_image image=”5100″ img_size=”full”][/vc_column_inner][vc_column_inner width=”1/2″][vc_single_image image=”14059″ img_size=”full”][/vc_column_inner][/vc_row_inner][vc_column_text css=”.vc_custom_1571724311522{margin-top: 30px !important;}”]
ฟิวริ่งในการขับขี่
ทำไมถึงต้องเปรียบเทียบฟิวริ่งในการขับขี่ทั้งๆ ที่เป็น Sport เหมือนกัน ใช่ครับเป็นสปอร์ตเหมือนกันแต่ลองสังเกตให้ดีจะเห็นว่าท่าทางในการขับขี่แตกต่างกันอย่างชัดเจน เรามาเริ่มต้นกันต่อเลยครับ อย่างที่บอกว่า Ninja650 เป็น Sport Touring ส่วน ZX-6R เป็น Super Sport
ฟิวริ่งในการขี่ Ninja 650
Ninja 650 เป็นรถทรงสปอร์ตที่ขี่ง่ายท่านั่งสบาย ไม่ก้มมากนักแต่ถ้าเราสังเกตจะเห็นว่า Ninja 650 นี้จะเป็นสปอร์ตทัวริ่งสามารถขี่ท่องเที่ยวได้สบายในเมืองก็ยังสามารถขี่ได้แถมวงเลี้ยวแคบกว่าดีไซน์ของตัวรถที่บางกว่าทำให้ท่านั่งดูไม่ก้มเกินไป ดีไซน์ของถังน้ำมันจะเห็นได้ว่ามีส่วนเว้าตรงช่วงขาและถังเล็ก ทำให้เราไม่ต้องกางขามากเกิน แถมแฮนด์เป็นทรงคล้ายๆ Ninja 400 และ Ninja 1000
ฟิวริ่งในการขี่ ZX-6R
มาถึงรุ่นที่เรียกว่าถึงแม้จะ 636 ซีซี แต่ก็มาด้วยเครื่องยนต์ 4 สูบ แถมยังเป็นทรงซุปเปอร์สปอร์ตอีกด้วย ท่านั่งก็จะแตกต่างจาก Ninja 650 ด้วยดีไซน์ของตัวรถที่มีความเป็นสปอร์ตมากกว่า ท่านั่งจะก้มตัวเข้าหารถมากขึ้นเปรียบง่ายๆก็คือการขี่ ZX-10 จะมีความเรียวของดีไซน์และน้ำหนักพอๆ กับ Ninja 650 นอกจากนี้ดีไซน์ของตัวถังน้ำมันที่มีรอยยุบตรงกลางเพื่อช่วยในการหมอบหลบลมที่เข้ามาปะทะ (Aerodynamic) และที่สังเกตได้ชัดเจนที่สุดคือแฮนด์จับโช๊คที่ให้ความเป็นสปอร์ต และถังน้ำมันจะเว้าข้างๆ เหมือนกันแต่จะมีทรงอ้วนกว่า Ninja 650 แถมวงเลี้ยวกว้างกว่า ในการขี่อาจจะเมื่อยกว่าปกตินิดหน่อยขี่ในเมืองก็ยังถือว่าตอบโจทย์อยู่ ครัทช์อาจจะแข็งกว่าทำให้เมื่อยกว่าเดิมในขณะที่รถติดหรือขณะที่รถเคลื่อนตัวได้ช้า แต่โดยรวมถ้าใครชอบความเป็นสปอร์ตแนะนำให้หันมาลองขี่ ZX-6R ดูก่อนก็ได้ครับ เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ไม่ควรมองข้าม[/vc_column_text][vc_column_text]ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่การเปรียบเทียบให้เห็นถึงข้อแตกต่างระหว่าง Kawasaki Ninja ZX-6R กับ Kawasaki Ninja 650 เท่านั้น ถึงแม้จะคลาส 600cc เหมือนกันแต่ประสิทธิภาพและฟิวริ่งต่างๆ มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ทั้งนี้อยู่ที่ทุกคนว่าชอบแนวไหนมากกว่ากันนะครับ ขอย้ำอีกหนึ่งทีว่า Ninja 650 ที่นำมาประกอบนั้นเป็นรุ่นที่เปิดตัวในต่างประเทศเท่านั้นส่วนจะเข้ามาจำหน่ายที่ประเทศไทยหรือไม่อาจจะต้องติดตามกันอีกทีครับ[/vc_column_text][vc_row_inner][vc_column_inner width=”1/2″][vc_single_image image=”14055″ img_size=”full”][/vc_column_inner][vc_column_inner width=”1/2″][vc_single_image image=”14054″ img_size=”full”][/vc_column_inner][/vc_row_inner][vc_column_text]
ติดต่อสอบถามหรือพูดคุยกับเรา
[/vc_column_text][/vc_column][vc_column width=”1/6″][vc_single_image image=”14062″ img_size=”full” onclick=”custom_link” css=”.vc_custom_1571634208254{margin-top: 70px !important;}” link=”https://realmotosports.com/testride/”][vc_empty_space height=”50″][vc_single_image image=”11454″ img_size=”full” onclick=”custom_link” img_link_target=”_blank” css=”.vc_custom_1571643023521{margin-top: 50px !important;}” link=”https://realmotosports.com/landing/”][vc_empty_space height=”50″][vc_single_image image=”14070″ img_size=”full” onclick=”custom_link” img_link_target=”_blank” link=”https://realmotosports.com/auto-loan-calculator/”][/vc_column][/vc_row]