[vc_row][vc_column][vc_single_image image=”4365″ img_size=”full”][vc_column_text]
เรื่องของการเตรียมตัวลุยป่าของสายเอ็นดูโร่ ไม่ได้จบแค่เรื่องการเตรียมตัวที่ได้คุยกันไปแล้ว ต้องบอกว่าเดี๋ยวนี้อุปกรณ์หรือชุดสำหรับการขับขี่ราคาก็ไม่แพง หลายคนก็เปลี่ยนได้ตามปีที่ชุดออกมาใหม่ๆ ทำให้เป็นสีสันสำหรับสายเอ็นดูโร่หรือว่าจะเป็นสายวิบากด้วยก็ได้เช่นกัน
ไม่ว่าจะชุดสวยขนาดไหนอันดับแรกเลยก็คือเรื่องของอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ต้องมาเป็นอันดับแรก ถึงแม้การขับขี่ในรูปแบบเอ็นดูโร่จะไม่ได้ใช้ความเร็วมากนัก แต่ถ้าได้ลองล้มเมื่อไหร่ก็ต้องมีเจ็บแบบจุกได้ทุกครั้งหรือว่าบางครั้งอาจจะถึงขั้นหักเลยก็มี ซึ่งมักจะมีให้เห็นกันอยู่บ่อย ๆ ฉะนั้นอุปกรณ์บนร่างกายจะช่วยเซฟร่างกายจากหนักกลายเป็นเบาไปได้มาก
[/vc_column_text][vc_single_image image=”5776″ img_size=”full”][vc_row_inner][vc_column_inner width=”1/2″][vc_column_text]
เมื่อเตรียมความพร้อมให้ร่างกายไปแล้ว ลำดับต่อมาก็ต้องเป็นรถ บางคนอาจจะมองว่า รถต้องเตรียมด้วยเหรอ? ก็ต้องบอกเลยว่ารถก็ไม่ต่างอะไรกับร่างกายของเราที่ต้องการการดูแลและปกป้องเช่นกัน อุปกรณ์ต่าง ๆ บางอย่างยังช่วยป้องกันร่างกายได้ไปพร้อม ๆ กัน ถ้าจะถามว่าแล้วรถเดิม ๆ นั้นสามารถขี่ลุยป่าได้หรือไม่นั้น เพราะว่ารถ Kawasaki ในตระกูล KLX250 นั้นได้มีการออกแบบมาให้สำหรับการเดินทางไว้แล้ว ซึ่งจริง ๆ รถเดิมก็สามารถเดินทางได้ แต่ถ้าหากได้มีการเตรียมความพร้อมให้กับรถจะทำให้การขับขี่สนุกมากขึ้น ครั้งนี้ต้องแยกเป็นในส่วนของภายนอกรถกันก่อน และยังมีจุดที่ต้องเตรียมเซ็ตให้มีความพอดีอย่างระบบช่วงล่างและในส่วนของคีมล็อคด้วย ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการขับขี่ในสายของเอ็นดูโร่ อุปกรณ์เซฟตี้หรือการ์ดป้องกันรถในส่วนต่าง ๆ
[/vc_column_text][/vc_column_inner][vc_column_inner width=”1/2″][vc_single_image image=”5776″ img_size=”large”][/vc_column_inner][/vc_row_inner][vc_column_text css=”.vc_custom_1545667319538{margin-top: 30px !important;}”]
อุปกรณ์ป้องกันอันแรกที่สายเอ็นดูโร่นิยมใส่กันมากสำหรับ KLX250 หรือ KLX รุ่นอื่นๆ ก็คือการ์ดแฮนด์ อุปกรณ์ตัวนี้จะมีให้เลือกหลายแบบ มีทั้งแบบที่เป็นโครงอะลูมิเนียมทั้งอัน ตัวนี้จะมีความแข็งแรงน้ำหนักเบา แต่ว่าเวลาเกี่ยวกับกิ่งไม้จะไม่มีการให้ตัวหรือว่ายืดหยุ่น ต่างจากการ์ดแฮนด์ที่มีเฉพาะตัวการ์ดแฮนด์เพียงอย่างเดียว แบบนี้จะช่วยให้ตัวการ์ดมีความยืดหยุ่นได้เวลาที่เกิดการกระแทกหรือว่าเกี่ยวกับกิ่งไม้ เดี๋ยวนี้มีให้เลือกหลายยี่ห้อและที่สำคัญการ์ดแฮนด์จะช่วยป้องกันมือได้จากการฟาดของกิ่งไม้หรือการกระแทกได้
[/vc_column_text][vc_row_inner][vc_column_inner width=”1/2″][vc_single_image image=”5784″ img_size=”full”][/vc_column_inner][vc_column_inner width=”1/2″][vc_single_image image=”5785″ img_size=”full”][/vc_column_inner][/vc_row_inner][vc_column_text css=”.vc_custom_1545723183394{margin-top: 30px !important;}”]
นอกจากเรื่องของการ์ดแฮนด์แล้ว การ์ดโช้คเองก็เช่นกัน เนื่องจากรถในตระกูล KLX อย่าง KLX150BF และ KLX250 เป็นรถที่ลุยอยู่ตลอดเวลา ทั้งน้ำ ฝุ่นและโคลนถือเป็นตัวสำคัญที่จะทำให้โช้คหน้าเกิดความเสียหายได้ ถ้าหากมีฝุ่นหลุดเข้าไปได้ก็จะทำให้โช้ครั่วได้เช่นกัน โดยเฉพาะใน Kawasaki KLX150BF และ KLX250 เป็นระบบโช้คหัวกลับที่มีโอกาสรั่วหรือว่าเสียหายที่เกิดจากการลุยน้ำโคลน
[/vc_column_text][vc_single_image image=”5887″ img_size=”full” alignment=”center” onclick=”custom_link” img_link_target=”_blank” link=”https://realmotosports.com/promotions”][vc_single_image image=”5790″ img_size=”full”][vc_column_text]
อีกตัวหนึ่งที่จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้คือการ์ดจานดิสก์เบรก แต่ก็ไม่ค่อยจะได้เห็นบ่อยนัก เพราะส่วนใหญ่จะมองดูว่าเกะกะมากกว่า การ์ดป้องกันสเตอร์โดยมากแล้วจะใส่กันที่สเตอร์หน้ามากกว่าสเตอร์หลัง เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่สายฝุ่นติดตั้งเอาไว้เพื่อป้องกันการกระแทกมากกว่าป้องกันฝุ่น
[/vc_column_text][vc_single_image image=”5793″ img_size=”full”][vc_column_text]
และที่จำเป็นมากที่สุดสำหรับตัวรถก็คือ การ์ดกันแคร้งเครื่องยนต์ อุปกรณ์ตัวนี้ถือว่าจำเป็นทีเดียวถึงแม้ใน Kawasaki KLX จะมีการ์ดติดมาให้แล้วก็ตาม แต่สำหรับการเดินทางหรือว่าในการแข่งขันแล้ว คงจะหลีกหนีการกระแทกจากใต้ท้องเครื่องยนต์
[/vc_column_text][vc_single_image image=”5874″ img_size=”full”][vc_column_text]ที่อาจจะเป็นไม้หรือว่าหินก็ได้ ความหนาของตัวแคร้งมีทั้งความหนา 3 นิ้วหรือ 4 นิ้ว แล้วแต่ว่าใครจะชอบแบบไหน การ์ดแคร้งโดยมากจะเป็นแผ่นเหล็กแล้วเชื่อมเข้ารูปเครื่องยนต์ ตลอดเส้นทางมีโอกาสที่จะเกิดการกระแทกและทำให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหายในทันทีจนไม่สามารถเดินทางต่อได้[/vc_column_text][vc_column_text]
มาดูที่ตัวพักเท้ากันหน่อยใน Kawasaki KLX หลายรุ่นที่ผลิตออกมาจะเป็นพักเท้าแบบยาง แต่ก็มีแบบที่สามารถถอดตัวยางออกได้แล้วจะกลายเป็นพักเท้าแบบเหล็ก ถ้าหากต้องเดินทางในป่าหรือว่าการแข่งขันแล้ว ควรที่จะใช้พักเท้าแบบเหล็ก เพราะป้องกันการลื่นตลอดเส้นทางโอกาสลุยน้ำมีตลอดหรือว่าโคลนที่จะทำให้พักเท้าลื่นและทำให้รองเท้าไม่สามารถเกาะพักเท้าได้ ส่งผลไปถึงเรื่องการควบคุมรถตามไปด้วย
[/vc_column_text][vc_single_image image=”5876″ img_size=”full”][vc_column_text]
จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์ส่วนใหญ่จะเป็นการ์ดที่ป้องกันการกระแทกมากกว่าป้องกันฝุ่น จะมีเพียงโช้คเท่านั้นที่เน้นการป้องกันฝุ่นและโคลน การติดตั้งการ์ดในจุดต่าง ๆของตัวรถก็เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายในระหว่างการเดินทาง ก่อนเดินทางควรเตรียมตัวความพร้อมสำหรับการเดินทางลุยป่าเอาไว้ดีกว่า เพราะในเส้นทางข้างหน้านั้นไม่อาจจะรู้ได้เลยว่าจะเจอกับอะไรบ้าง[/vc_column_text][vc_single_image image=”5790″ img_size=”full”][vc_column_text]
ส่วนตัวยางบางคนก็อาจจะมีการเปลี่ยนมาเป็นยางดอกห่างเพื่อใช้ตะกุยดิน ช่วยได้เยอะสำหรับรถที่ต้องเดินทางในทางปิดแบบนี้ อีกอย่างหนึ่งก็คือกระจกทางที่ดีแล้วถอดออกด้วยดีกว่า นอกจากจะช่วยให้คล่องตัวแล้วยังช่วยป้องกันอันตรายที่กระจกอาจจะแตกมาโดนได้แต่ในกรณีขี่บนถนนไม่แนะนำให้ถอดกระจกออกนะครับเพื่อความปลอดภัยสำหรับการมองทางข้างหลัง ทั้งหมดนี้เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับรถสำหรับใครที่เริ่มหักแฮนด์มาลุยป่าก็จะได้เตรียมอุปกรณ์กันได้ไม่ยาก ที่สำคัญเข้าไปแล้ว สามารถออกมาให้ได้นี่แหละคือความท้าทายของนักลุยสายเอ็นดูโร่[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text]
[/vc_column_text][vc_single_image image=”5589″ img_size=”medium” alignment=”center”][vc_column_text]
บทความโดย สะบัดคันเร่ง
คลุกคลีเรื่องรถมอเตอร์ไซค์มาร่วม 20 ปี ขี่รถทุกรูปแบบทั้งในประเทศ ต่างประเทศและสนามแข่ง ขอให้เป็น 2 ล้อขี่ได้หมดและยังพร้อมเติมประสบการณ์กับคันเร่งต่อไป[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_single_image image=”5887″ img_size=”full” alignment=”center” onclick=”custom_link” img_link_target=”_blank” link=”https://realmotosports.com/promotions”][/vc_column][/vc_row]