[ความรู้คู่รถ] จะรู้ได้อย่างไรว่าควรเปลี่ยนน้ำมันเบรกเมื่อไหร่ดี?

[ความรู้คู่รถ] จะรู้ได้อย่างไรว่าควรเปลี่ยนน้ำมันเบรกเมื่อไหร่ดี?

 เรื่องของเหลวในเครื่องยนต์ถือเป็นเรื่องสำคัญ ถึงแม้จะถูกมองว่าเป็นอะไหล่สิ้นเปลืองก็ตาม แต่ของเหลวภายในเครื่องยนต์ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าชิ้นส่วนอะไหล่อื่นๆ และยิ่งสำคัญไปกว่านั้น ของเหลวยังเป็นตัวที่คอยปกป้องเครื่องยนต์ได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเครื่องที่รู้จักกันดี 

ไม่เฉพาะเครื่องยนต์เท่านั้น ยังมีของเหลวอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำในหม้อน้ำเองก็ดี(เพื่อนๆ สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมน้ำเปล่ากับน้ำยาหล่อเย็น ต่างกันอย่างไร) รวมไปถึงน้ำมันเบรก ทุกชิ้นส่วนจะมีอายุการใช้งาน เมื่อถูกใช้งานไปตามระยะทางที่กำหนดก็ควรที่จะต้องเปลี่ยน เพื่อให้การทำงานของเครื่องยนต์นั้นมีการทำงานได้สมบูรณ์มากที่สุด 

ส่วนมากถ้าเป็นน้ำมันเครื่องยนต์หลายคนจะทราบกันดีว่าควรจะเปลี่ยนน้ำมันเครื่องกันเมื่อไหร่ดี ส่วนใหญ่จะใช้ระยะทางเป็นตัวกำหนด ซึ่งคุณสมบัติของน้ำมันเครื่องยนต์แต่ละเกรดจะมีแจ้งอยู่แล้วว่าใช้ได้กี่กิโลเมตร แต่ว่าถ้าเป็นน้ำมันเบรกนี่ซิ…? อาจจะเกิดคำถามกันอยู่บ่อยๆ ว่าแล้ว “ควรจะเปลี่ยนน้ำมันเบรกเมื่อไหร่ดี”

น้ำมันเบรกใช้ระยะทางเป็นตัวกำหนด

 ในการเปลี่ยนน้ำมันเบรกนั้นจะใช้ระยะทางในการใช้งานเป็นตัวกำหนดเช่นเดียวกับการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง แต่ว่าระยะทางการเปลี่ยนของน้ำมันเบรกนั้นจะยาวนานกว่าเท่านั้นเอง แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าควรจะเปลี่ยนน้ำมันเบรกเมื่อไหร่

 

ควรเปลี่ยนน้ำมันเบรกเมื่อไหร่

อันดับแรกควรจะศึกษาที่คู่มือก่อนเพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าควรจะเปลี่ยนที่ระยะที่เท่าไหร่ โดยพื้นฐานแล้วการเปลี่ยนน้ำมันเบรกจะอยู่ที่ 40,000 กิโลเมตร ซึ่งระยะนี้ถือว่าเป็นระยะมาตรฐาน หรือไม่ก็อาจจะกำหนดเอาไว้ว่าในรอบ 1 ปี ก็ควรที่จะมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรกสักหนึ่งครั้ง แต่พื้นฐานของน้ำมันเบรกสามารถเปลี่ยนถ่ายได้ที่ระยะ 80,000 กิโลเมตรก็ได้ แต่แนะนำว่าควรจะเปลี่ยนที่ระยะ 40,000 กิโลเมตร จะช่วยให้การทำงานของเบรกนั้นดีที่สุด ทั้งนี้ยังเป็นการช่วยไล่ความชื้นที่อาจจะผสมอยู่ในน้ำมันเบรกได้ เพราะเมื่อน้ำมันเบรกมีความชื้นผสมอยู่มากก็จะทำให้ประสิทธิภาพในการเบรกรถนั้นน้อยลงไปด้วยเช่นกัน 

กระปุกน้ำมันเบรกหน้า

 เมื่อเบรกมีการใช้งานอย่างต่อเนื่องคุณภาพของน้ำมันเบรกก็จะลดน้อยลงไปด้วยเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะเมื่อน้ำมันเบรกเกิดความร้อนมากๆ บางท่านอาจจะเคยได้ยินว่าอาการเบรกหายได้ 

สาเหตุที่เกิดอาการเบรกหาย

การที่เบรกเกิดอาการหายก็มาจากเกิดความร้อนในน้ำมันเบรกมากเกินไป ดังนั้นจึงควรที่จะเปลี่ยนน้ำมันเบรกในทุกๆ 1 ปี เป็นอย่างน้อย นอกจากเรื่องของการสังเกตหรือจดจำที่ระยะทางการเปลี่ยนแล้ว อีกอย่างหนึ่งที่สามารถสังเกตได้ด้วยตัวเองก็คือการสังเกตที่กระปุกน้ำมันเบรกว่ามีฟองหรือสีของน้ำมันนั้นดำหรือเปล่า รวมถึงสีที่เปลี่ยนไปจากเดิม สามารถตรวจสอบได้ที่ตาแมวหรือกระปุกน้ำมันนั้นเอง

break oil

 ปกติแล้วน้ำมันเบรกจะต้องมีสีใส สิ่งเหล่านี้ก็เป็นตัวชี้แนะได้เลยว่าควรที่จะเปลี่ยนน้ำมันเบรกได้แล้วครับ รวมถึงน้ำเบรกที่อาจจะพร่องไปก็ควรที่จะเปลี่ยนด้วยเลย แต่ก็ให้สังเกตดูด้วยว่าสาเหตุที่น้ำมันเบรกพร่องไปนั้นเป็นเพราะผ้าเบรกใกล้จะหมดด้วยหรือไม่?

 ถ้าหากผ้าเบรกไม่หมดแต่น้ำมันเบรกหายอันดับแรกเลยก็ควรเช็คที่สายน้ำมันเบรกว่ามีรอยหรือน้ำมันเบรกรั่วหรือไม่ ถ้าไม่มีอาจจะเติมน้ำมันเบรกเข้าไปให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ แต่ถ้าหากมีโอกาสเปลี่ยนก็ควรจะเปลี่ยนทันที เพราะไม่ควรจะใช้น้ำมันเบรกใหม่กับเก่าผสมกัน ยิ่งถ้าหากเป็นน้ำมันเบรกคนละเบอร์ด้วยแล้วก็ยิ่งไม่ค่อยสมควรทิ้งไว้นาน เพราะค่าการทนต่อแรงดันนั้นไม่เท่ากัน อาจจะทำให้เบรกไม่อยู่ได้ จะยิ่งเป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่รถเป็นอย่างมาก 

 

“ถึงจะเป็นเบอร์เดียวกันก็ไม่ควรผสมกันอยู่ดี น้ำมันเบรกบางยี่ห้อก็จะมีการระบุเอาไว้ข้างขวดกันเลยทีเดียว”

 

 บางคนถึงกับลืมไปเลยว่า เปลี่ยนครั้งสุดท้ายไว้เมื่อไหร่ ถึงแม้จะมีคู่มือหรือว่ามีการกำหนดระยะทางเอาไว้แล้วก็ตาม ดังนั้นเมื่อเกิดลืมไปแล้วว่าต้องเปลี่ยนไปเมื่อไหร่ ให้ลองสังเกตสีของน้ำมันเบรกดูก็ได้ครับ หรือว่าถ้าน้ำมันเบรกที่ลดลงในขณะที่ผ้าเบรกยังมีอยู่ ก็ควรจะตรวจเช็คการรั่วของสายน้ำมันเบรกไปด้วยเลย เพื่อเป็นการดูว่ามีรั่วจุดไหนด้วยหรือเปล่า 

อย่างไรก็ตามเราควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรกปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้เบรกทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด อย่าลืมว่าเบรกคือส่วนที่ทำให้เกิดความปลอดภัยต่อตัวเองและผู้อื่น ดังนั้นควรดูแลรักษาระบบเบรกให้ใช้งานได้อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการขับขี่แบบใช้ความเร็วสูงๆ หรือว่าใช้ความเร็วต่ำก็ตามควรตรวจเช็คระบบเบรกให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอยู่เสมอในทุกการขับขี่

พูดคุยกับเราหรือปรึกษาก่อนซื้อ

inbox

LINE

Share this post :

คุยกับเราผ่านทาง SOCIAL MEDIA

Follow Us​