วันนี้ ศูนย์คาวาซากิ Real MotoSports จะมีบทความเรื่อง ความแตกต่างระหว่างคอร์สแบบ Basic Riding Course และ Racing มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
หลายคนที่เริ่มขี่รถหรือว่าอาจจะขี่มานานแล้วแต่ยังไม่เคยเข้าไปขี่ในสนามหรือว่าอาจจะมีขี่มาบ้างแล้ว แต่ไม่ได้จริงอะไรมากนัก คือขี่แบบสนุกๆอย่าง Kawasaki ที่จัดให้ผู้ใช้รถทุกรุ่นได้มีโอกาสหาประสบการณ์การขับขี่ในสนาม แน่นอนว่าหลายคนที่ขี่รถบิ๊กไบค์น่าจะผ่านหลักสูตร Riding Course มากันบ้างแล้ว ซึ่งหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรพื้นฐานของผู้เริ่มต้นขับขี่รถบิ๊กไบค์ที่มีกำลังเยอะและน้ำหนักรถเยอะให้สามารถควบคุมได้อย่างปลอดภัย
แต่อีกหลักสูตรหนึ่งที่ไม่ค่อยได้เห็นกันบ่อยนักหรือไม่ก็อาจจะสอนกันแค่ในกลุ่มเล็กๆแล้วก็ให้คำแนะนำกันมาเรื่อยๆ รวมถึงค่ายรถเองก็ไม่ได้มีการเปิดสอนอย่างจริงจังมากนัก อย่างเช่นหลักสูตรการขับขี่แบบ Racing หรือการแข่งขันในสนามนั่นเอง แล้วถ้าอยากจะขี่บ้างล่ะ ทั้ง 2 หลักสูตรนี้มันเหมือนหรือต่างกันอย่างไร สามารถนำมาใช้ในรูปแบบไหนได้บ้าง มาดูกัน…???

หลักสูตรของ Riding Course
จะมี Station ในการเริ่มต้นจะมีการแบ่งออกเป็นทฤษฎีและปฏิบัติ ถ้าเป็นในภาคปฏิบัติก็จะมีขั้นตอนเยอะหน่อย กับพื้นฐานการใช้รถและขับขี่รถ ที่เริ่มตั้งแต่ในเรื่องของท่านั่ง ไม่ว่าจะนั่งคร่อมรถสไตล์ไหนก็จะเป็นในรูปแบบของการเน้นให้นั่งได้สบายตัวจะไม่เกร็งเน้นการควบคุมรถง่ายเพื่อนๆ สามารถศึกษา Basic Riding Course ได้ที่ Free Riding Course Online
วิธีปฏิบัติในหลักสูตรของ Riding Course
1.แขนจะงอเล็กน้อย กริ๊ปแฮนด์จะต้องเฉียงเกือบ 45 องศาเพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะการงอแขน
2.นิ้วมือทั้ง 2 ข้างจะไม่แตะที่ก้านเบรกหรือว่าก้านคลัทช์ ทั้งนี้เพื่อป้องกันหากเกิดตกใจขึ้นมา นิ้วอาจจะไปกำเบรกหรือว่าคลัทช์ได้ ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายได้
3.เท้าจะต้องอยู่ในตำแหน่งพักเท้าโดยที่ปลายเท้าจะต้องไม่แตะส่วนใดส่วนหนึ่งของแป้นเกียร์และเบรก หากต้องการใช้ให้ค่อยๆขยับเท้ามากดแป้นเบรกหรือเกียร์เท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันหากเกิดการตกใจ อาจมีโอกาสที่มือหรือเท้าจะไปกดแป้นเบรกหรือเกียร์ได้ ซึ่งจะยิ่งทำให้รถเสียการทรงตัวและจะทำให้การควบคุมรถทำได้ยากมากขึ้น
4.ลำตัวจะโน้มตัวไปด้านหน้าเล็กน้อยและงอแขนกับขาเพียงเล็กน้อยเพื่อที่จะให้แขนและขานั้นเป็นส่วนที่ช่วยซับแรงกระแทกหรือว่าเป็นโช้คระหว่างรถและร่ายกาย เมื่อเกิดการกระแทกหรือเข้าโค้งร่างกายก็จะเกิดการอิสระทำให้ควบคุมรถได้ง่าย การขับขี่ในโค้งไม่จำเป็นต้องกางเข่าออกมาเหมือนนักแข่ง เพียงแค่ใช้หัวไหล่หรือโยกลำตัวช่วงบนเพื่อเป็นการถ่ายน้ำหนักหรือว่าสร้างสมดุลกับรถก็สามารถทำให้รถเข้าโค้งได้อิสระ

Trick ที่สำคัญคือการใช้สายตาที่ควรมองไปที่ปลายโค้งนั้นเอง ส่วนเข่าก็หนีบตัวถังรถเอาไว้เพื่อลดอาการของรถในขณะที่รถอยู่ในโค้ง ลำดับต่อมาก็จะเป็นการยกรถในท่าที่ถูกต้องจะช่วยเซฟร่างกายไม่ให้เกิดอันตรายและผ่อนแรงในการยกรถ ส่วนในเรื่องของการขับขี่ก็จะมีทั้งรูปแบของการขับขี่สลาล่อม การเบรกจะเบรกเพื่อชะลอหรือว่าเบรกหยุดอย่างกระทันหัน การทรงตัว สิ่งต่างๆเหล่านี้คือพื้นฐานของการควบคุมรถให้เกิดความปลอดภัย
แน่นอนว่าการเรียนคงไม่ได้ทำให้ขับขี่ได้เก่งภายในวันเดียวหรือว่าวันสองวัน แต่ว่าก็ต้องขึ้นอยู่กับการหาความชำนาญ ซึ่งเมื่อถึงสถานะการคับขันจริงๆแล้วจะช่วยสามารถแก้ไขสถานะการณ์ให้ปลอดภัยได้หรือว่าจากหนักกลายเป็นเบาไปได้

การขับขี่แบบ Racing
สำหรับการขับขี่แบบ Racing นั้นในท่าทางการขับขี่ จะไม่สบายเหมือนกับขี่ Riding Course โดยมีขั้นตอนวิธีการปฏิบัติดังนี้
1.ท่านั่งของการแข่งขัน อย่างแรกจะต้องหาตำแหน่งที่สามารถควบคุมรถได้ดีที่สุด ซึ่งตรงนี้ขึ้นอยู่กับสารีระของแต่ละคน
2. การจับกริ๊ปแฮนด์จะเฉียงเกือบ 45 องศาเหมือนกับการขับขี่แบบ Riding
3. ลำตัวจะหมอบติดตัวถัง เก็บแขนเก็บขาเพื่อลดแรงปะทะจากลม ยิ่งหมอบได้มากเท่าไหร่ก็จะยิ่งดี นักแข่งจะขยับร่างกายอีกครั้งก็ต่อเมื่อก่อนเข้าโค้งที่จะใช้ร่างกายสร้างสมดุลในช่วงเข้าโค้ง โดยโยกลำตัวออกมาจากรถทั้งแขนและขากางเพื่อสร้างสมดุลในขณะที่ใช้ความเร็วในโค้ง ยิ่งใช้ความเร็วในโค้งมากเท่าไหร่ก็ยิ่งต้องพับรถมากขึ้น ร่างกายจะยิ่งต้องสร้างสมดุลด้วยการโยกตัวออกมามากขึ้นด้วย
Trick ที่สำคัญคือการใช้สายตาที่จะต้องมองออกไปที่ปลายโค้ง การขับขี่แบบ Racing จะต้องซ้อมเพื่อหาความชำนาญอยู่เรื่อยๆ เพื่อให้ร่างกายสามารถตอบสนองได้โดยอัตโนมัติ โดยที่ไม่ต้องมานึกทีละขั้นตอน

จะเห็นได้ว่าการขับขี่ทั้ง 2 รูปแบบมีความแตกต่างกัน จะมีส่วนที่เหมือนกันเพียงแค่บางจุดเท่านั้นก็คือการใช้สายตาที่มองไปให้ไกล ยิ่งใช้ความเร็วก็จะยิ่งต้องมองออกไปให้ไกล ยิ่งมองไกลก็จะยิ่งทำให้มีเวลาตัดสินใจได้นานขึ้น ถ้าเป็นการใช้รถบนท้องถนนควรพยายามสังเกตุด้านข้างไปด้วย เพื่อเป็นการเปิดองศามุมมองและสังเกตวัตถุที่จะมาจากด้านข้าง รวมไปถึงตำแหน่งของการวางมือหรือการกริ๊ปแฮนด์และการวางเท้าก็จะเหมือนกัน ที่แตกต่างกันก็จะมีเพียงแค่เรื่องของท่านั่งที่ไม่จำเป็นต้องหมอบติดถังน้ำมัน และการเข้าโค้งที่จะต้องมีการถ่ายน้ำหนักต่างกัน
ข้อแตกต่าง
ถ้าเป็น Riding Course ก็ไม่จำเป็นต้องโยกตัวออกมาจากรถ เพียงแค่โยกหัวไหล่เพื่อเป็นการถ่ายน้ำหนักเท่านั้นก็สามารถเข้าโค้งได้ จะต่างจากการขับขี่แบบ Racing ที่ต้องโหนมาทั้งตัว ทั้ง 2 รูปแบบสามารถนำมาประยุกต์ใช้ด้วยกันได้ โดยเฉพาะการใช้สายตา การเบรก ถ้าเป็นการขับขี่ในสนามอาจจะใช้เพียงแค่ 2 นิ้วในการควบคุมเบรก เพราะการเบรกในสนามจะเป็นเพียงการชะลอความเร็ว แต่ถ้าขับขี่ใช้งานอาจจะมีทั้งการควบคุมเบรกเพียง 2 นิ้วเพื่อชะลอความเร็วและการควบคุมเบรกทั้ง 4 นิ้วเพื่อหยุดรถให้ได้ในระยะสั้นที่สุดหรือเบรกกะทันหัน


สรุปแล้วการขับขี่ทั้ง 2 รูปแบบนี้ต่างกันเพียงแค่ท่านั่งขับและช่วงเข้าโค้งเท่านั้น แต่ขั้นตอนการเริ่มขับขี่ควรจะเริ่มมาจากการขับขี่ Riding Course ก่อนที่จะไปขับขี่แบบ Racing นั่นเอง เพื่อให้รู้ถึงหลักการขับขี่เบื้องต้นและทำให้เข้าใจการขับขี่ขั้นพื้นฐานก่อนที่จะไปขับขี่แบบเรซซิ่งนั้นเอง ทั้งนี้เพื่อการขับขี่ที่สนุกและปลอดภัยมากขึ้น สามารถเรียนพื้นฐานการขับขี่ Riding Course ได้ที่ ศูนย์คาวาซากิ Real MotoSports เราพร้อมที่จะดูแลคุณตลอดทุกการเดินทาง

บทความโดย สะบัดคันเร่ง
คลุกคลีเรื่องรถมอเตอร์ไซค์มาร่วม 20 ปี ขี่รถทุกรูปแบบทั้งในประเทศ ต่างประเทศและสนามแข่ง ขอให้เป็นสองล้อขี่ได้หมด และยังพร้อมเติมประสบการณ์กับคันเร่งต่อไป