บิ๊กไบค์อันตรายกว่าจริงหรือ? เปิดสถิติอุบัติเหตุที่คุณไม่รู้มาก่อน

[vc_row][vc_column][vc_column_text]บิ๊กไบค์อันตรายกว่าจริงหรือ……เป็นคำถามที่หลายๆ คนน่าจะสงสัยกันอยู่นานพอสมควรใช่ไหมครับ ซึ่งเรื่องนี้ก็ถกเถียงกันมานานแล้ว บางท่านบอกว่าต้องเป็นบิ๊กไค์อยู่แล้วเพราะซีซีสูงขี่ืแล้วอันตราย บางท่านบอกไม่เสมอไป แน่นอนครับว่าเราอาจจะต้องเอาสถิติหรือข้อมูลมาอ้างอิงเพื่อให้เห็นภาพกันดีกว่าว่าจริงๆ แล้ว บิ๊กไบค์อันตรายจริงหรือไม่[/vc_column_text][vc_column_text]

1) มือใหม่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุมากที่สุด?


เรามักจะคิดกันว่า อุบัติเหตุมักจะเกิดกับมือใหม่ที่เริ่มขับขี่สองล้อมากที่สุด แต่จากข้อมูลสถิติจากอเมริกา[1]กลับพบว่า กลุ่มเสี่ยงที่สุดคือผู้ขับขี่จักรยานยนต์ที่เข้าสู่ปีที่ 2-3 ภาษาบ้านๆ คือ เข้าสู่ช่วงย่ามใจ คิดว่าขี่คล่องแล้วจนเริ่มประมาท เกิดอุบัติเหตุได้สูงกว่ากลุ่มมือใหม่ที่เริ่มขับขี่ได้ 0-6 เดือนเสียอีก ซึ่งแม้จะขี่ไม่คล่องแต่ก็ระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะยังคิดว่าตัวเองขี่ไม่เก่ง ดังนั้นทุกท่านที่ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ หรือมีคนใกล้ชิด ก็ขอให้ระมัดระวังปีที่ 2-3 ให้ดี เป็นช่วงปีชงของไบค์เกอร์เลยทีเดียว ถ้าเริ่มห้าว เริ่มแต่งตัวไม่รัดกุม ไม่สวมหมวกกันน็อก นั่นคือสัญญาณอันตรายที่ต้องคอยตักเตือนกันไว้

[1]  ข้อมูลจาก The Hurt Report, จากหนังสือ Proficient Motorcycling หน้า 21[/vc_column_text][vc_single_image image=”14239″ img_size=”full”][vc_column_text]

2)  บิ๊กไบค์อันตรายกว่ารถเล็ก ?

จากสถิติล่าสุดจากศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน (ThaiRSC)[2] ในทุกๆ วันจะมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย เฉลี่ยแล้วกว่า 40 คน ซึ่งถ้านับแค่วันก่อนหน้าที่ผมกำลังเขียนบทความนี้ (5 พ.ย. 2561) เพียงแค่วันเดียวก็มีผู้เสียชีวิตถึง 66 คน เป็นเรื่องที่น่าตกใจ และควรมีการพูดถึงทุกๆ วันในข่าวให้มากกว่านี้ แต่กลับไม่มีใครสนใจพูดถึงจริงจัง เหมือนกลายเป็นเรื่องปกติ จนประเทศไทยชื่อว่ามีผู้เสียชีวิตบนท้องถนนมากที่สุดในโลกในปี 2560

[1]  ข้อมูลจาก The Hurt Report, จากหนังสือ Proficient Motorcycling หน้า 21

[2] ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.thairsc.com/[/vc_column_text][vc_single_image image=”14241″ img_size=”full” alignment=”center”][vc_column_text]แต่เมื่อใดที่ Bigbike เกิดอุบัติเหตุขึ้นจนเสียชีวิตแม้เพียงรายเดียว มักกลายเป็นข่าวออกสื่อในทันที กระแสข่าวลักษณะนี้ นานเข้าก็ชักจูงให้คนทั่วไปหรือแม้แต่ผู้มีอำนาจในบ้านเมืองเกิดทัศนคติทางลบต่อกลุ่มมอเตอร์ไซค์ขนาดใหญ่อย่างเลี่ยงไม่ได้ ผุดไอเดีย คิดมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมรถบิ๊กไบค์นี้อย่างเข้มงวดกว่ารถอื่นๆ เป็นพิเศษ ทั้งๆที่…[/vc_column_text][vc_single_image image=”14243″ img_size=”full” alignment=”center”][vc_column_text]ในความเป็นจริง ผู้ใช้รถ bigbike บนท้องถนนถือว่าเป็นชนกลุ่มน้อยมากๆ จากข้อมูลในเว็บไซต์ ThaiRSC ระบุว่าในปี 2018 มีผู้เสียชีวิตจากยานพาหนะที่เครื่องยนต์ใหญ่กว่า 400cc จำนวน 224 คน (ซึ่งไม่ได้ระบุว่าหมายรวมถึงรถยนต์ด้วยหรือไม่) แต่เมื่อเทียบกับผู้เสียชีวิตจากยานพาหนะที่เล็กกว่า 150cc ซึ่งหมายถึงรถมอเตอร์ไซค์เพียงอย่างเดียวแน่นอน กลับมีจำนวนสูงถึง 8266 คน เทียบเป็นสัดส่วนกับจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดในปี 2018 ที่ 9443 คน ตามตารางนี้แล้ว ยอดเสียชีวิตของเครื่อง 400cc ขึ้นไป มีเพียง 2.4% ในขณะที่รถเล็กกว่า 150cc จะอยู่ที่ 87.5% ถ้าพิจารณาจุดนี้ ก็ชวนให้ตั้งข้อสังเกตว่า ขนาดของเครื่องยนต์ดูจะไม่ใช่ตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดการเสียชีวิต พฤติกรรมของผู้ขับขี่เสียเองมากกว่า ที่ไม่ว่าจะไปใช้รถเล็กหรือใหญ่ ก็สามารถเกิดอุบัติเหตุจนเสียชีวิตได้เช่นกัน ดังนั้นการที่รัฐจะใช้เวลาและทรัพยากรลงมาเข้มงวดกับกลุ่ม 2.4% แทนที่จะสนใจทำอย่างไรให้กลุ่ม 87.5% ขับขี่ปลอดภัยมากกว่านี้ ก็พอคาดเดาได้ว่า มาตรการคุมเข้มบิ๊กไบค์ สุดท้ายจะไม่คุ้มค่าและไม่สามารถแก้ปัญหาอะไรได้อย่างยั่งยืน

ข้อมูลสถิติจากสหรัฐอเมริกาก็ยืนยัน ไม่พบความเชื่อมโยงว่ารถมอเตอร์ไซค์ที่เครื่องยนต์ใหญ่กว่าจะมีอุบัติเหตุมากขึ้น แต่พบว่าอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้พอๆ กันทุกกลุ่มเป็นเปอร์เซ็นต์มากน้อย ตามปริมาณรถในแต่ละขนาดเครื่องยนต์ที่พบบนท้องถนนเสียมากกว่า แถมการเกิดอุบัติเหตุในรถที่ cc มากกว่า 500 กลับลดลง โดยผู้รวบรวมข้อมูลตั้งข้อสังเกตว่า อาจจะเกิดจากผู้ที่ใช้รถ 500cc ขึ้นไป ส่วนมากมีประสบการณ์ขับขี่มามากแล้ว [3] จากตารางจะพบข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของตลาดมอเตอร์ไซค์ในอเมริกากับบ้านเรา คือรถที่ซีซีสูงกว่า 250 ขึ้นไปได้รับความนิยมมากกว่า ส่วนประเทศไทย รถเล็กขนาดน้อยกว่า 150cc เป็นตลาดกลุ่มใหญ่กว่ามาก[/vc_column_text][vc_single_image image=”14244″ img_size=”full”][vc_column_text]3) บิ๊กไบค์ แต่ละประเภทอันตรายไม่เท่ากัน?
มักจะพูดกันในกลุ่มผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์กันอยู่เสมอว่า รถบิ๊กไบค์สายซูเปอร์สปอร์ตที่มีแรงม้าสูงๆนั้น อันตรายกว่ารถประเภทอื่นเช่นรถทัวริ่ง แต่ก็เป็นเพียงการพูดจากที่พบเห็นกันมาของแต่ละคน เสียดายที่ไม่มีการเก็บสถิติแยกตามประเภทรถมอเตอร์ไซค์ในบ้านเรา ดังนั้นผู้เขียนเลยยกเอาสถิติจากทางฝั่งอเมริกาซึ่งมีการแยกประเภทอย่างละเอียด สรุปได้ว่า รถกลุ่ม super sports นั้น มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุถึงชีวิตมากกว่ารถกลุ่มอื่นๆเช่นทัวริ่ง ครุยเซอร์ ถึง 4 เท่าตัว  โดยข้อมูลในตารางด้านล่าง จากหน่วยงานด้านประกันภัยในสหรัฐ ที่แยกอุบัติเหตุตามประเภทรถ โดยเมื่อคำนวณแล้ว พบว่า ในบรรดารถ super sport ด้วยกันเองนั้นทุก 10,000 คันที่จดทะเบียน จะเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิตถึง 22.5 คน
เทียบกับรถครุยเซอร์ 10,000 คัน จะเสียชีวิตเพียง 5.7 คน  แม้แต่รถสายสปอร์ตรุ่นเล็กลงมาก็ยังมีอันตรายกว่าสายอื่นๆ ถึง 2 เท่า ซึ่งสถิติชุดนี้เทียบระหว่างปี 2000 กับ 2005 ซึ่งมีเทรนด์ของข้อมูลที่ตรงกันไม่เปลี่ยนแปลง[4]

[3] ข้อมูลจาก The Hurt Report, จากหนังสือ Proficient Motorcycling หน้า 24

[4] Insurance Institute for Highway Safety, Status Report. Special Issue: Motorcycles. Sept. 11, 2007; 42(9).[/vc_column_text][vc_single_image image=”14202″ img_size=”full” alignment=”center” onclick=”custom_link” link=”#form”][vc_single_image image=”14246″ img_size=”full” alignment=”center”][vc_column_text]ส่วนสาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็คงทราบกันดีว่ารถประเภท supersport นั้นจำลองมาจากรถที่ใช้ในการแข่งขัน มีเทคโนโลยีที่ใช้ในสนามแข่ง เน้นอัตราเร่ง ความเร็วสูงสุด ชวนให้ใช้ความไว สามารถเร่งเกินกว่า 250km/h ได้อย่างรวดเร็วสบายๆ และรถประเภทนี้เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่วัยรุ่น

ดังนั้นเราสามารถพูดได้ว่า การเลือกใช้รถแต่ละประเภทนั้น มีผลต่อความปลอดภัยมากน้อยจริงๆ รถครุยเซอร์ แม้จะเครื่องใหญ่ถึง 1500cc ก็ไม่สามารถเทียบความเร็วแรงกับรถสปอร์ตที่เครื่องเล็กกว่าอย่าง 1000cc ได้เลย จึงไม่ควรกำหนดหลักเกณฑ์แบ่งประเภทบิ๊กไบค์โดยดูแลเลข cc เพียงอย่างเดียว[/vc_column_text][vc_column_text]

4) มอเตอร์ไซค์ไม่น่ากลัว หากสวมหมวกกันน็อกทุกครั้ง

เรื่องน่ารำคาญลำดับต้นๆของคนใช้รถมอเตอร์ไซค์คือหมวกกันน็อก ไม่ว่าจะร้อน อับชื้น ต้องหิ้วติดตัว ติดรถตลอด หลายคนที่ตระหนักเรื่องความปลอดภัยก็เลือกที่จะใส่อยู่เสมอจนชินแม้จะไม่สะดวกบ้าง บางท่านก็ใส่เพียงเพื่อกันตำรวจจับ ดังนั้นเราก็มักจะพบผู้ขับขี่สองล้อโดยไม่สวมหมวกอยู่เสมอๆ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในพื้นที่หรือเวลาที่ไม่เข้มงวด คิดว่าจะไม่พบเจอตำรวจ[/vc_column_text][vc_single_image image=”14251″ img_size=”full” alignment=”center”][vc_column_text]ในทางสถิตแล้ว 70% ของอุบัติเหตุบนท้องถนนในเมืองไทยเกี่ยวข้องกับรถมอเตอร์ไซค์ และในจำนวนนี้ 88% เสียชีวิตจากการบาดเจ็บที่ศีรษะ[5] ซึ่งป้องกันลดความเสี่ยงได้ด้วยการสวมหมวกกันน็อกที่ได้มาตรฐาน และสวมอย่างถูกต้อง ก่อนจะออกจากบ้านทุกครั้ง แล้วคิดว่าจะหยิบหมวกขึ้นมาใส่ดีไม่ดี ก็คือตัวตัดสินแล้วว่า ท่านจะเอาตัวเข้าไปอยู่ในกลุ่ม 88% ที่เสียชีวิต หรืออยู่ในกลุ่ม 12%

นอกจากนี้มีข้อมูลที่พ้องกันจากกระทรวงคมนาคมสหรัฐอเมริกา ที่อ้างสถิติการเสียชีวิตที่มากขึ้นของผู้ใช้รถจักรยานยนต์เนื่องจากการไม่มีกฎหมายหมวกกันน็อคในบางรัฐ หรือบังคับใช้หย่อนยาน โดยผู้ที่ไม่สวมหมวกมีความเสี่ยงที่กระทบกระเทือนทางสมองมากกว่าผู้ใส่ถึง 3 เท่า และมีโอกาสเสียชีวิตจากการบาดเจ็บที่ศีรษะมากกว่าผู้ใส่หมวกถึง 40%[6] ดังนั้นอัตราเสี่ยงของคนใช้รถมอเตอร์ไซค์จะลดลงมาก หากสวมหมวกกันน็อกจนเป็นนิสัย การขี่มอเตอร์ไซค์เพื่อใช้งานหรือท่องเที่ยวจะได้ไม่ดูอันตรายอย่างที่หลายฝ่ายกังวล จนต้องคิดกฎเข้มงวดเพื่อควบคุม แต่ก็ไร้ซึ่งประสิทธิภาพหากผู้ขับขี่เองไม่ตระหนักและยังประมาท เพราะจริงๆแล้วอันตรายนั้นเกิดจากตัวคน ไม่ใช่ขนาดของรถ

[5] ข้อมูลจาก ศูนย์ขับขี่ปลอดภัยฮอนด้า

[6] เวปไซท์กระทรวงคมนาคมสหรัฐhttps://www.bts.gov/archive/publications/special_reports_and_issue_briefs/special_report/2009_05_14/box_b

สุดท้ายนี้ Kawasaki Real MotoSports ขอแนะนำสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มขี่บิ๊กไบค์ครั้งแรกให้มาเรียนขับขี่พื้นฐานเพื่อการเข้าใจที่ถูกต้องหรือสามารถเรียนออนไลน์ง่ายๆ Free Riding Course Online เรียนรู้การแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น เพราะเราไม่อยากให้คำถามว่า บิ๊กไบค์อันตรายกว่าจริงหรือ  กลายเป็นปัญหาในประเทศไทย[/vc_column_text][vc_column_text]

ติดต่อสอบถามหรือพูดคุยกับเรา

inbox

LINE[/vc_column_text][vc_tta_accordion][vc_tta_section tab_id=”form”][vc_column_text]

กรอกข้อมูลเพื่อรับข่าวสารและข้อมูลก่อนใคร

[/vc_column_text][vc_raw_js]JTNDc2NyaXB0JTIwY2hhcnNldCUzRCUyMnV0Zi04JTIyJTIwdHlwZSUzRCUyMnRleHQlMkZqYXZhc2NyaXB0JTIyJTIwc3JjJTNEJTIyJTJGJTJGanMuaHNmb3Jtcy5uZXQlMkZmb3JtcyUyRnNoZWxsLmpzJTIyJTNFJTNDJTJGc2NyaXB0JTNFJTBBJTNDc2NyaXB0JTNFJTBBJTIwJTIwaGJzcHQuZm9ybXMuY3JlYXRlJTI4JTdCJTBBJTA5cG9ydGFsSWQlM0ElMjAlMjI0NzU5MDI5JTIyJTJDJTBBJTA5Zm9ybUlkJTNBJTIwJTIyZmE5Y2EzZDAtZGQ4NC00ZDBmLWJiN2QtNjA5NjBkYmRhYmIxJTIyJTBBJTdEJTI5JTNCJTBBJTNDJTJGc2NyaXB0JTNF[/vc_raw_js][/vc_tta_section][vc_tta_section title=”Section 2″ tab_id=”1573549291115-d68b3a42-0ede”][/vc_tta_section][/vc_tta_accordion][vc_row_inner css=”.vc_custom_1573632901933{margin-top: 30px !important;}”][vc_column_inner][vc_single_image image=”6896″ img_size=”medium” alignment=”center” title=”บทความโดย DimsumRacer ปอ”][vc_column_text]ปอ เป็นผู้ที่หลงไหลรถ 2 ล้อติดเครื่อง โดยมักหาความรู้ต่างๆจากหนังสือและสื่อต่างประเทศ เริ่มขี่มอเตอร์ไซค์ครั้งแรกด้วยรถ 150cc ก่อนยุคบิ๊กไบค์บูมในไทย ก่อนจะมาใช้รถหลากหลายสไตล์และยี่ห้อ ตั้งแต่ 125-900cc ปัจจุบันเขาหลงไหลรถมอเตอร์ไซค์แนวคลาสสิคเป็นพิเศษ ที่เรียกตัวเองว่า ติ่มซัมเรซเซอร์ เพราะความชื่นชอบรถคาเฟ่เรซเซอร์ แต่ชงเอสเปรสโซ่เองที่บ้าน และขี่พาสก๊อยไปกินติ่มซัมมากกว่า[/vc_column_text][/vc_column_inner][/vc_row_inner][/vc_column][/vc_row]

Share this post :

คุยกับเราผ่านทาง SOCIAL MEDIA

Follow Us​